เทคนิคการ Develop สินค้าที่มีให้เป็น Collection ใหม่

เทคนิคการ Develop สินค้าที่มีให้เป็น Collection ใหม่
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีโครงการทำหรือผลิตสินค้าต่างๆ หรืออาจจะกำลังทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ คุณไม่ควรพลาดที่จะอ่านข้อความนี้ เพราะนี่คือวิธีการที่จะช่วยคุณในการออกแบบและผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใน Line ของคุณไม่ว่าจะเป็นแบบ collection หรือจะเป็นโปรดัคแยกเดี่ยวก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เพราะมันจะช่วยให้คุณวางแผนในการออกแบบ Product รายปี รายสองปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นประโยชน์มากแน่ๆในระยะยาว จริงๆแล้วในการออกแบบและผลิตสินค้า เรามักจะมีวงจรของการพัฒนาตามลำดับหรือที่เรียกว่า ‘Product Development’ หรือที่เรียกว่า ‘วิวัฒนาการของสินค้า’

จริงๆแล้ววิวัฒนาการของสินค้าสามารถแบ่งออกคร่าวๆได้ใน 3 แบบคือ 1. วิวัฒนาการทางด้าน Design : คือการพัฒนาสินค้าโดยเน้นในเรื่องของ Design เป็นหลัก คือ รูปร่าง ขนาด วัสดุตามความเหมาะกับตลาด เทรน และช่วงเวลา

ตัวอย่างงาน Develop ทางด้าน Design แบบงาน 2D ของแบรนด์ PEUGEOT

     

ตัวอย่างงาน Design Evolution แบบ 3D ของ COKE

 

2.วิวัฒนาการทางด้าน Function : คือการพัฒนาสินค้าโดยคำนึงถึงเรื่องประโยชน์ใช้สอยทางด้านการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งการเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน การลดทอน การadd เพิ่ม หรือการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานไปเลยก็ได้ โดยเน้นเรื่องของความสะดวกต่างๆเป็นหลัก ซึ่งมีการยึดความต้องการของกลุ่มลูกค้า เทรน และความต้องการของยุคสมัยตามที่ผู้ผลิตต้องการ

ตัวอย่างงาน Design Evolution แบบเน้นฟังก์ชั่นขอโทรศัพท์มือถือ

  3.วิวัฒนาการทางด้าน Innovation : คือการพัฒนาสินค้าโดยมีเรื่องของนวัตกรรมเข้ามาเป็นตัวหลักในการปรับเปลี่ยน ถ้าใครยังนึกเรื่องของวิวัฒนาการไม่ออก ยกตัวอย่างเช่น ผ้า จากผ้าธรรมดาที่มีการพัฒนาเรื่องของวิวัฒนาการในปัจจุบันคือผ้ากันยุงและผ้าที่มีกลิ่นหอม โดยมีการนำเอานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยการ add แคปซูลขนาดเล็กลงไปในผ้าและใส่กลิ่นที่เป็นประโยชน์ต่างๆ และเมื่อตัวผ้าเกิดการเสียดสีก็จะเกิดกลิ่นตามประโยชน์ใช้สอย เหมือนที่เรารู้จักกันในผ้ากลิ่นมิ้นท์ที่ช่วยให้หลับง่ายขึ้น หรือผ้ากันยุง ทีนี้เรามาดูตัวอย่างงานที่เน้นทางด้านนวัตกรรมต่อได้ข้างล่างนี่เลยค่ะ  

ตัวอย่างงาน Design ที่มีการพัฒนาใหม่ที่เน้นการฉีกกฏจากนาฬิกาเดิมๆแต่ใส่สิ่งใหม่เข้าไปแทน

  รู้เรื่องประเภทของการทำ Design Evolution กันไปแล้ว ทีนี้ ถ้าจะทำ ทำยังไงล่ะ? มีคำถามค่ะ – แล้วจะรู้ได้ไงว่าจะเริ่มจากตรงไหนไปถึงตรงไหน? – แล้วจะรู้ได้ไงว่าควรพัฒนาตัว Version ใหม่ออกมาเมื่อไหร่? – แล้วจะรู้ได้ไงว่าทำออกมาแล้วจะขายได้ดี? – แล้วจะเริ่มทำเนี่ย เริ่มแบบไม่เป็นเลยได้ยังไง? คำตอบมีอยู่ว่า การเริ่มทำแบบว่าเริ่มใหม่หมดเลย แบบไม่เคยพัฒนาวงจรของสินค้ามาก่อน ให้เริ่มทำแบบง่ายที่สุดคือเริ่มจากปรับ Design ค่ะ Design ในที่นี้สามารถทำได้หลายทิศทางอีกคือ – ปรับเรื่องของรูปร่าง – ปรับเรื่องของขนาด – ปรับเรื่องของวัสดุ – ปรับเรื่องของตัวที่ใช้ในการตกแต่ง จริงๆเรื่องของการที่เราทำออกมาแล้วจะรู้ได้ไงว่าสินค้าตัวนี้ทำออกมาแล้วจะติดตลาดรึเปล่า คนจะชอบไหม คุ้มที่จะผลิตเยอะไหม จริงๆแล้วถ้าเก่งมากเรื่องของการตลาดอยู่แล้วจะไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่ถ้าอยาก Make sure จริงๆก็ควรต้องหา feed back ค่ะ โดยถามจากตัวลูกค้าจริง วิธีการเทสตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆของ Starbuck ที่เวลามีเมนูอะไรใหม่ออกมาจะมีแจกให้ชิมว่าเป็นตัวใหม่ แล้วเก็บข้อมูลจากตรงนั้นจาก feed backของลูกค้าและจากการทานเหลือหรือไม่เหลือค่ะ  หรือในอีกกรณีนึงคือคล้ายๆของกลุ่มคนที่ทำ Application ที่จะทดสอบว่า app นั้นใช้งานได้ดีรึเปล่าจะดวกพอไหม ก็จะทำออกมาให้นได้ใช้จริงๆเลย แล้วค่อยพัฒนาออกมาเป็น Version   ส่วนเรื่องที่ว่าเราควรพัฒนาตัวใหม่ออกมาเมื่อไหร่ จริงๆอันนี้ไม่มีการ fix แบบแน่นอน ขึ้นกับความสามารถในการจัดการเรื่องการบริหารและการผลิตของแต่ละแบรนด์และแต่ละประเภทสินค้าค่ะ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานว่าในแต่ละปีจะผลิตออกมากี่ตัว และมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าเป็นกรณีที่เป็นงานแฟชั่น โดยปกติแล้วจะมีการวางแผนก่อนหน้าการผลิตและการวางขายอยู่ที่อย่างน้อยสุดประมาณ 6 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทสินค้าด้วยค่ะ อย่างเช่นที่เราเห็น Iphone ไม่ได้มีการออกสินค้าออกมาแบบถี่ๆเหมือนกับแฟชั่นที่ออกมาเป็น Summer / Autum / Spring / Resort แต่มักจะมีช่วงระยะเวลาที่นานออกมา อันนี้ต้องดูว่าลักษณะของสินค้าของเราเหมาะกับประเภทไหนค่ะ  

        สรุปคือ จริงๆแล้ววิวัฒนาการของสินค้า ไม่มีการ Fix ว่าต้องแยกว่าต้อง Develop แบบใดแบบหนึ่ง แต่กลับกัน สามารถผสมรวมกันได้โดยไม่ได้จำกัด เพราะตัวแปรหลักจริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าของเรามากกว่าว่า เราต้องการแบบไหน และนอกจากนี้เรายังสามารถไม่เดินตามกฏเกณฑ์ต่างๆได้อีกด้วยว่าเราต้องค่อยๆพัฒนารูปแบบให้เปลี่ยนไปแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์หลักของเราและสินค้าของเราว่าเน้นจุดไหน ตลาดไหน ลูกค้าเป็นใคร สุดท้ายแล้วเป็นตัวของเราเองดีที่สุดอยู่ดี Design ในแบบที่เหมาะกับของเราเอง ดีที่สุดอยู่ดี

เพราะหลายๆครั้ง Design speaks louder than words  งาน Design บอกอะไรได้ชัดเจนกว่าการอธิบายออกมาเป็นคำพูด



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *