ของแจกฟรีที่เจอบน Internet เอามาใช้ยังไงให้ไม่ผิดลิขสิทธิ์

ของแจกฟรีที่เจอบน Internet เอามาใช้ยังไงให้ไม่ผิดลิขสิทธิ์
สมัยนี้ Internet ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษาหาความรู้ข้อมูล การติดต่อเพื่อนๆ
การทำธุรกิจ เรื่องของสิ่งบันเทิง และยังมีคนกลุ่มที่ใจดีบนโลก Online ทำของแจกฟรีออกมาแบ่งปันให้คนอื่นๆได้ใช้กันอีกด้วยแต่เดี๋ยวก่อน ถ้าเราไม่ได้อ่านเงื่อนไขการใช้งานข้อตกลงให้ดีแล้ว อาจไม่ได้ Happy อย่างที่คิด
เพราะจะมีปัญหาตามมาจากการทำผิดเงื่อนไขโดยไม่รู้ตัวแน่ๆ
วันนี้ติวเลยเอาเรื่องราวของ ‘ ใช้ของแจกฟรียังไง ให้ Happy ทุกฝ่ายและไม่เป็นปัญหา ‘ 

 

ก่อนอื่นเรามาดูประเภทของที่นิยมแจกฟรีกันบน Internet กันก่อนค่ะ
สิ่งที่มักจะมีคนใจดีแบ่งปันให้คนอื่นๆสามารถนำไปใช้ได้ ติวแบ่งออกเป็น 5 ประเภทให้คร่าวๆดังนี้ค่ะ
1. รูปภาพ : รูปภาพต่างๆตั้งแต่ภาพถ่าย ภาพผลงานของเจ้าตัว ภาพสินค้า และอื่นๆ
2.Music , Sound , Audio : เป็นได้หลายประเภทตั้งแต่ Sound effect , เพลงแต่งใหม่ , เพลงบรรเลง , music production เสียงพูด etc.
3.Footage , Jingle : เป็นวีดีโอที่เราสามารถนำไปใช้งานในลักษณะต่างๆตามเงื่อนไขที่ตกลง
4.Font : ตัวอักษร ตัวหนังต่างๆ
5.Etc : เช่นงาน Graphic ต่างๆ และอื่นๆ

 

 

ทีนี้พอเรารู้แล้วว่าของที่เราเอามาจาก internet เนี่ยอยู่ในประเภทของต่างๆด้านบน
ให้เราลองเช็คดูค่ะ ว่าของที่เราเอามาจริงๆแล้วอยู่ในประเภทไหน
1. เป็นของที่ฟรี 100% : อันนี้ส่วนใหญ่เราจะสังเกตได้ง่ายๆค่ะ มักจะมีคำว่า 100% ฟรี หรือมักจะมีคำว่า free อยู่ในชื่อโดเมน
2. เป็นของที่ฟรี แบบอนุญาตให้ใช้ได้ในแบบส่วนตัว : เป็นของที่แจกฟรีในลักษณะที่ใช้เองได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อเผยแพร่ และเพื่อการค้า
ของประเภทนี้มักจำมีคำว่า Personal Use ค่ะ เรามักจะเจอบ่อยๆในพวกของ Fonts และ Graphic ต่างๆ
3. เป็นของที่นำไปใช้ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน หรือตามเงื่อนไขของ Creative Commons : อันนี้เราต้องดูเงื่อนไขต่างๆของเจ้าของเว็บ หรือเจ้าของผลงานค่ะ เรามีความจำเป็นต้องอ่านและทำความเข้าใจในหน้า License ของเพจหรือเว็บนั้น หรือตามเงื่อนไขของครีเอทีฟ คอมมอนส์

 

 

บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องของ Creative Commons ว่าคืออะไร ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต)

สาเหตุที่มี Creative Commons ก็คือเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในด้านของการนำไปใช้งานเชิงสื่อต่างๆค่ะ

ซึ่งครีเอทีฟ คอมมอนส์ เนี่ยมีอยู่ในหลายประเทศต่างๆ และประเทศไทยก็เป็น 1 ในประเทศทีเข้าร่วมกับ ครีทีฟคอมมอนส์ค่ะ

Creative Commons มีเงื่อนไขหลายประเภท ซึ่งเราควรจะต้องทำความเข้าใจค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปดูเงื่อนไขแต่ละประเภท เรามาดูเรื่องของสัญลักษณ์หลักๆที่ใช้ใน CC กันก่อนค่ะ
เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้น 

ความหมายของสัญลักษณ์ทั้ง 4 อันคือ
     ตัวอักษร BY หรือเครื่องหมายรูปคนคือ (BY) หมายถึงการนำไปใช้จะต้องอ้างอิงกลับมาถึงผู้เขียน ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน คือคนอื่นนำไปใช้ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงกลับมาที่เจ้าของผลงานแบบเดียวกัน 

 เครื่องหมายลูกศร เราเรียกว่า (SA) คือยินยอมให้มีการดัดแปลงงานได้โดยต้องมอบความยินยอมต่อไปด้วย ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
และต้องอ้างอิงแหล่งที่มา 

เครื่องหมายเหมือนดอลล่าห์ขีดคาด คือ (NC) ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

 เครื่องหมายเท่ากับ เราเรียกว่า (ND) คือต้องใช้งานต้นฉบับเท่านั้นโดยไม่มีการดัดแปลงใดๆ ทั้งสิ้น


เมื่อเรารู้สัญลักษณ์กันแล้ว เรามาดูแถบที่เรามักจำเห็นบ่อยๆ เป็นสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ที่แบ่งได้เป็น 6 อย่างตามนี้ค่ะ


ซึ่งแต่ละอันมีความหมายคือ

  • อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)

 

  • อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA) : หมายถึงเวลาที่เราเห็นคนเอาไปใช้แล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานของเราเหมือนกัน
    เราสามารถเอางานชิ้นนั้นไปใช้ต่อในงานของเราได้ แต่เราต้องอ้างอิงแหล่งที่มาเหมือนกับที่เราเห็นเพื่อนของเราให้เครดิตแหล่งที่มาค่ะ

     

 

  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)

 

 

  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA) : หมายถึงผลงานชิ้นนั้นจะนำเอาไปใช้ได้ ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา สามารถใช้ได้ในลักษณะที่ไม่ใช่เพื่อการค้า และคนที่เห็นงานชิ้นนั้นสามารถเอาไปใช้ได้ แต่ต้องอ้างอิงที่มา และห้ามเอาไปใช้เพื่อการค้าเช่นเดียวกันค่ะ

 

  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)

 

  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)

 

นี่ก็เป็นเงื่อนไขทั้งหมดของครีเอทีฟคอมมอนส์ค่ะ ที่เป็นประโยคทั้งกับผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานและผู้เอาไปใช้ได้เลย
และเป็นหนทางการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ  ทีนี้ใครเจอเครื่องหมายเหล่านี้จะได้เข้าใจง่ายขึ้น ว่าอ๋อของที่เราเอามาใช้เป็นแบบไหน พอเราเข้าใจ เราก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการผิดลิขสิทธิ์ หรือผิดเงื่อนไขนำมาใช้ละค่ะ และถ้าเราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เราก็ยังสามารถเผยแพร่ผลงานของเราต่อได้เรื่อยๆ ตามเงื่อนไขที่เราต้องการ และสามารถได้เดรดิตที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ 



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *