ออกแบบ Collection ใหม่ Develop Design ไปทางไหนดี?

ออกแบบ Collection ใหม่ Develop Design ไปทางไหนดี?

 

“Design Collection ใหม่ทิศทางไหนดี”

จริงๆแล้วการทำธุรกิจในยุคนี้โดยเฉพาะธุรกิจแนวที่เป็นผลิตภัณฑ์ มักจะมีการ Develop Design ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาของตัวสินค้าทั้งในลักษณะที่เป็น Version ใหม่ๆออกมาจากผลิตภัณฑ์ตัวเดิม หรืออีกกรณีคือการพัฒนาสินค้าออกมาในรูปแบบของการผลิตออกมาเป็น Collection ใหม่ เทคนิคการพัฒนาตัวสินค้าของธุรกิจต่างๆ มักจะมีอยู่หลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะตามความต้องการ ตามเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ และตาม concept ขององค์กรนั้นๆ

 

ในวันนี้สิ่งที่ติวจะเอามาแชร์คือ เทคนิคการพัฒนาตัวสินค้าในรูปของ Design เหมาะสำหรับเป็น Key ที่จะช่วยบอกว่า ถ้าเราต้องการเปลี่ยนรูปแบบของ Product เราโดยเน้นในเรื่องของงาน Design เราจะสามารถพัฒนาไปในรูปแบบไหนได้บ้าง มีไอเดียยังไง และในเวลาที่ Product ได้มีการพัฒนารูปแบบมาก่อนแล้ว และพัฒนามาถึงจุดๆนึงแล้ว เราควร Develop แนวทางสินค้าไปในรูปแบบทิศทางไหนต่อดี

 

นี่คือรูปแบบแนวทางของการพัฒนารูปแบบสินค้าค่ะ ติวแบ่งย่อยออกเป็น 5 แนวทางและใช้รูปทรงง่ายๆในการอธิบายประกอบว่า เทคนิคในการทำ Design Development แบบง่าย เราจะทำแบบไหนได้บ้าง


1. Transform การเปลี่ยนแบบ : อันนี้เป็นวิธีที่หลายองค์กรมักจะนิยมใช้ให้เห็นมากที่สุดค่ะ เป็นการพัฒนาแบบที่พัฒนาไปในรูปแบบของวิวัฒนาการ มีการเปลี่ยนเป็นรูปทรงและรูปร่างเล็กน้อยจากสินค้าตัวเดิม หรือมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนที่ยังคงให้เห็นว่าสินค้ามีที่มายังไง และมาจากรูปแบบไหน
ข้อดี : การทำ Design Development แนวนี้จะทำให้ลูกค้าเห็นชัดถึงที่มาที่ไป และลูกค้ายังจำ Product เดิมของเราได้อยู่ค่ะว่าสินค้าเดิมเป็นแบบไหน และยังทำให้ลูกค้าจดจำในเรื่องของลักษณะผลิตภัณฑ์เดิมของเราที่ทำมาได้
แนวธุรกิจที่เหมาะจะนำไปใช้ : ธุรกิจที่มีอยู่มานาน มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนในลักษณะของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าจำได้แล้วว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบแนวนี้เป็นของ Brand ธุรกิจอันนี้ ตัวรูปแบบสินค้าที่มีมาก่อนมีความเป็น Signature อย่างเด่นชัด

 


 

2. Expand or Shrinks การขยายหรือหดตัว : เป็นวิธีการทำ Wide หรือ Narrow กับตัวสินค้าค่ะ อันนี้มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบ transform แต่ว่า Key ของการพัฒนาตัวสินค้าคือ เล่นในเรื่องของพื้นที่ เราจะเน้น Focus ไปในเรื่องของการขยายพื้นที่ หรือหดตัวของตัวสินค้าค่ะ
ข้อดี : การพัฒนาสินค้าแนวทางนี้เป็นประโยชน์ทางด้านการปรับดีไซน์ที่ง่ายมาก และสามารถต่อยอดให้เป็น Function ของตัวสินค้าได้อีกค่ะ เช่น ในตัวสินค้าการสามารถทำการหด และ ขยายเพิ่มได้ในตัวเอง และยังสามารถใช้งานอยู่ได้ในสองลักษณะ และเป็นการเพิ่ม Function ให้กับผู้ใช้งานที่สามารถเลือกใช้งานได้มากกว่า 1 รูปแบบ
แนวธุรกิจที่เหมาะจะนำไปใช้ : ในด้าน Design สามารถนำไปใช้ได้ในหลายธุรกิจตามความต้องการ และอีกแนวทางคือธุรกิจที่ต้องการ Function ทางด้านเนื้อที่การใช้งานต่างๆค่ะ ซึ่งพื้นที่เป็นตัวสำคัญหลักที่มีอิทธิพลกับการใช้ เช่น Furniture ที่ต้องใช้ในพื้นที่ที่มีการจำกัด ที่มีการทำรูปแบบให้มีการพับเก็บในพื้นที่ๆแคบได้


3. Cut out or Combine การตัดทิ้งออกไป ไม่ก็เอามารวมกันซะเลย : อันนี้เป็นอีกแนวทางนึงในการเล่น Design ได้หลากหลายค่ะรูปแบบนี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวสินค้าที่ออกแบบค่อนข้างชัดในเรื่องของรูปทรงและรูปร่างที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ข้อดี : การ Develop สินค้าแนวนี้จะทำให้ลูกค้าสนใจมากขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้เห็นแบบแตกต่างจากเดิมชัดเจน
แนวธุรกิจที่เหมาะจะนำไปใช้ : เทคนิคการ Develop แนวนี้เหมาะกับการเน้นความใหม่ การเปลี่ยนแปลงจากเดิมแบบเห็นได้ชัด และเหมาะจะนำไปใช้สำหรับตัว Limited edition หรือตัวสินค้าพิเศษที่ทำเฉพาะลูกค้าพิเศษที่จะได้ไป หรือธุรกิจที่มีความเรียบของรูปแบบสินค้ามานานและอยากสร้างความแตกต่าง


4. Inner or Bevel การสร้างดีเทลที่ลึกเข้าไป หรือนูนออกมา : เป็นการ Develop สินค้าได้ใน 2 แนวทางคือ

– การสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบเชิงดีเทล : มีการเปลี่ยน design เล็กๆน้อยๆ แต่ยังคงรูปแบบสินค้าเดิมอยู่ การนำมาใช้พัฒนารูปแบบสินค้าในแนวนี้จะเป็นการพัฒนาในเรื่องของมิติ และดีเทลรายละเอียดที่มากขึ้น เช่น การเล่น Design ของลวดลายคิ้วบัวบานประตู ( ลวดลายของบานประตูต่างๆที่มีลักษณะแบบนูนขึ้นมาและลึกลงไป ) ที่จะเห็นเป็นดีเทลมิติ แต่ว่ายังคงการงานเดิมคือเป็นประตู แต่ Detail ที่เปลี่ยนไปให้ความแตกต่างในแง่ของพื้นผิว ลวดลาย

– การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิง Shape & Form : มีการเปลี่ยน Design ที่เห็นชัดเจนโดย Focus เล่นในเรื่องของมิติ ที่ถ้าหาเลือกในการเล่นมิติมากๆ สามารถทำให้เกิด Form ที่แตกต่างชัดเจน หรือสร้าง Function ขึ้นมาได้ชัดเจน เช่น เก้าอี้stool กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั่งแบบไม่มีพนักพิงที่ถ้าต้องการ Function เพิ่มสามารถดึงอีกชิ้นส่วนออกมาจากข้างล่างเก้าอี้วางเป็นโต๊ะข้าง Side table สำหรับวางแก้วกาแฟ และช่องว่างที่เหลือในตัวเก้าอี้ใช้ใส่หนังสือด้านใต้แทน

ข้อดี : ประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแบบ Detail และแบบ Function
แนวธุรกิจที่เหมาะจะนำไปใช้ : ประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบตามความต้องการและ Concept ของแต่ละธุรกิจ


5. Explode การทำให้แตกย่อยออกมา : เป็นการ Develop สินค้าแนวที่ต้องการความเป็นอิสระในการจัดวาง ซึ่งในการพัฒนาสินค้าแนวนี้รวมถึงการนำไปใช้ในรูปแบบของ Modular มีความอิสระในการจัดวาง และในบางกรณีสามารถเป็นได้ทั้งประโยชน์ทางด้านDesign และ Function เช่น กระจกเงาแบบ 6 เหลี่ยมที่สามารถต่อติดๆกันให้เป็นรังผึ้ง หรือสามารถเลือกที่จะติดกระจายได้แบบอิสระ หรือ ตัวต่อ Lego ที่คนต่อสามารถสร้างแบบได้ตามที่กำหนด หรือแบบที่ยากสร้างขึ้นเองได้

ข้อดี : ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น และสามารถใช้งานได้อย่างอิสระ
แนวธุรกิจที่เหมาะจะนำไปใช้ : ธุรกิจที่ต้องการสร้างความรู้สึกดีเชิงแฝงให้กับแบรนด์กับลูกค้า โดยปกติแล้วการที่มีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความผูกพันเชิงแฝง จะเป็นประโยชน์มากกับสินค้าที่มีความเป็น Signature ของ Brand ชัดเจน เพราะลูกค้าจะเกิดความผูกพันเชิงแฝงกับตัวสินค้าและ Brand มากขึ้น และความเป็น signature ของตัวผลิตภัณฑ์จะช่วยเน้นย้ำให้ลูกค้าจำได้ถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ แต่ว่าการ Develop ประเภทนี้ไม่เหมาะกับสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เพราะมีขั้นตอนในการใช้งาน ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้งานในเวลาเร่งรีบ แต่เหมาะกับสินค้าที่สามารถใช้ได้ในวันสบาย หรือวันพักผ่อนว่างๆ


นี่ก็เป็น 5 แนวทางที่ติวคิดว่าคุณจะสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของคนค่ะ เป็นประโยชน์ทั้งในด้านของการ Develop ในแง่ของ Design และในบางตัวยังเป็นประโยชน์ในแง่ของ Function ซึ่งถ้าเราพัฒนาไปในรูปแบบที่ตรงกับโจทย์และ Concept ของเราก็จะง่ายขึ้น และนี่ยังเป็น Key ที่ช่วยคุณในเวลาที่คิดไม่ออกว่าจะพัฒนาสินค้าไปในแนวทางไหนดี หรือจะคิดแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ไปในแนวทางไหนได้บ้างค่ะ วิธีการเลือกใช้ขึ้นกับการเลือกให้ถูกกับประเภทของสิ่งที่เป็นเรา อะไรคือ Concept Brand ของเรา อะไรคือสิ่งที่ลูกค้านึกถึงเราจริงๆ อะไรคือสิ่งที่เราต้องการสื่อสารกับลูกค้า อะไรคือการที่ลูกค้าอยากใช้สินค้าหรือว่าสัมผัสเราจริงๆ เพราะความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และแนวทางต่างๆทำให้ง่ายต่อการลืมไปว่า จริงๆแล้ว ความเป็นตัวตนในแบรนด์ของเราคืออะไร สิ่งที่เป็นของดีของเราจริงๆคืออะไร หลายธุรกิจมักจะตามหาสิ่งที่ตัวเองไม่มีและเป็นจุดพลาดที่ทำให้ลืมความเป็น Signature ของตัวเอง ทำให้ลูกค้าเริ่มไม่แน่ใจว่า จริงๆแล้วแบรนด์นี้จะเป็นไปในแนวทางไหน ต้องการสื่ออะไร แล้วขายอะไร

 

Value your own signature
ลองสังเกตซิ ว่าทุกวันนี้เราเขวกลายเป็นคนอื่นและกลบความเป็น Signature ของตัวเองไปแล้วรึเปล่า



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *